breathcouncil

กระบวนการแก้ปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืน
:บทเรียนสภาลมหายใจเชียงใหม่

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่


การเปลี่ยนจากการโทษกันไปโทษกันมา แล้วรู้ว่าทุกคนล้วนเป็นผู้ก่อฝุ่นควัน pm2.5 และทุกคนล้วนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นควัน จึงต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา มาสู่การเชื่อมโยงพลังกันของทุกภาคส่วนเป็นสิ่งสำคัญ

กระบวนการสำคัญ คือการเชื่อมโยงพลังของทุกภาคี ในภาคประชาชน ชุมชน ประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และสาธารณชนต่างๆ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับภาครัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่น


การปรับวิธีคิดวิธีการมองแบบการมองเห็นช้างคนละมุม จากความชำนาญหรือประสบการณ์ของตน จึงไม่เห็นปัญหาทั้งระบบของPM2.5 มาสู่การทำงานร่วมกันเรียนรู้ร่วมกันทำให้เริ่มมองเห็นสาเหตุและเข้าใจภาพรวมของปัญหา และตระหนักถึง ความซับซ้อนของปัญหา PM2.5 ว่าเป็นปัญหาในทุกระดับทั้งระดับชุมชน ระดับชาติ นานาชาติและระดับโลก จนกระทั่งเกิดการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เช่นลดPM2.5 ให้ได้ในทุกสาเหตุ เพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นฟูระบบนิเวศให้ดีขึ้น

ภาพ : Chayakorn Sottikul


จากนั้นก็มีการแบ่งการทำงานตามศักยภาพของแต่ละภาคส่วน จัดกลุ่มงานออกเป็นส่วนๆเพื่อไปเชื่อมโยงการแก้ปัญหาฝุ่นควันในทุกสาเหตุ และมีข้อเสนอในการ แก้ปัญหาที่เป็นไปได้และสร้างสรรค์

  1. เปลี่ยนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในลักษณะอุบัติภัย มาตลอด ๑๔ ปี โดยตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ในช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. เพื่อร่วมดับไฟที่เกิดในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. มาเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ต้นเหตุทุกสาเหตุ โดยมีแผน ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวรองรับการทำงานต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งปี
  2. เปลี่ยนการแก้ปัญหาจากการฟังคำสั่งจากส่วนกลางส่งมายังจังหวัด อำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แบบสั่งการจากบน ลงล่างและใช้การบังคับใช้กฎหมายเป็นหลักแบบเดิม พบว่าแก้ปัญหาไม่ได้เพราะความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ติดกับแหล่งต้นกาเนิดปัญหา ซึ่งแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ควรให้ชุมชนเป็นแกนหลัก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนประสานร่วมกับสภาองค์กรชุมชน ในการร่วมแก้ปัญหา โดยเน้นที่แผนป้องกันไม่ใช่การไล่ดับไฟ เช่น การทำแนวกันไฟ อาสาร่วมลาดตระเวน การกำหนดเขตที่ดินทำกินกับพื้นที่ป่าธรรมชาติอย่างชัดเจน มีคณะกรรมการดูแลโดยมีภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสาธารณะชนร่วมส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน มีศักยภาพ มีความพร้อมในการทำงานตามแผนที่วางไว้ร่วมกัน
  3. ต้องทำงานร่วมกันบนฐานข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการ เป็นการมองเห็นข้อเท็จจริงร่วมกัน แทนที่จะมอง จากจุดยืนที่ต่างกัน เช่นการเปลี่ยน zero burning ซึ่งทำให้ทุกคนถูกห้าม คนที่เผา ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดกลายเป็นคนผิด เปลี่ยนมาเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงจากแผนจากระดับพื้นที่ เชื่อมโยงกับข้อมูลวิชาการที่เป็นวิทยาศาสตร์ อุณหภูมิ กระแสลม การยกตัวของอากาศ ค่าpm2.5 เพื่อให้ชุมชนก็อยู่ได้ทางเศรษฐกิจ คนในเมืองก็ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดทำให้ทุกคนอยู่รอดร่วมกันเกิดโมเดลการทำงานของเชียงใหม่ ทางสภาลมหายใจทราบดีว่าไม่สามารถแก้ปัญหาเพียงลำพังจ.เชียงใหม่ได้ ต้องเชื่อมโยงการแก้ปัญหาไปยัง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนรวมจังหวัดตาก และเชื่อมโยงไปทั้งประเทศและกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียน
  4. เสนอให้มีการเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาภายใต้ พรบ.บรรเทาสาธารณภัยฯ เพื่อแก้อุบัติภัย เช่น เมื่อมีไฟเกิดขึ้น จึงใช้งบประมาณ กาลังคน และเครื่องจักรได้ ซึ่งไม่เหมาะกับการแก้ปัญหา PM2.5 เปลี่ยนมาเป็นกฎหมายบริหารจัดการแากาศสะอาดที่มีนัยเชิงรุก มองปัญหารอบด้าน และแก้ปัญหาได้ตรงจุดในทุกสาเหตุของ PM2.5 เพื่อให้มีอากาศสะอาด
  5. มีกระบวนการสร้างความตระหนัก รับรู้ของสาธารณะผ่านงานศิลปะ โดยกลุ่มศิลปินArt for Air มีกิจกรรมรณรงค์การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการเดินทางแบบคาร์บอนต่ำ “ปั่นเพื่อเปลี่ยน”และมีการสื่อสารสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยสื่อสารผ่าน FACEBOOK (เพจ) สภาลมหายใจ ผ่านเว็บไซต์ ผ่าน (เพจ) WEVO สื่ออาสา สื่อสารความรู้และสถานการณ์ต่างๆ เพื่อทุกคนติดตามทัน สถานการณ์ต่างๆ เข้าใจปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นถือเป็นบทเรียนการทางานของสภาลมหายใจเชียงใหม่ ที่เรียกว่า “เชียงใหม่โมเดล” ที่หวังจะลด PM2.5 โดยลด hot spot และพื้นที่เผาไหม้ลงลงปีละ 25 เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างน้อย เพื่อในอนาคตทุกคนจะมีอากาศบริสุทธิ์หายใจ


สนับสนุนโดย