JEDSADA TANGTRAKULWONG


เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์
JEDSADA TANGTRAKULWONG


เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ (J01)

เกี่ยวกับศิลปิน / About


เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515 ที่กรุงเทพฯ เจษฎา จบการศึกษาระดับปริญญาโท จาก The Slade School of Fine Art จาก University College London ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2549 และ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก San Francisco Art Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบัน พำนักและทำงานทั้งที่เชียงใหม่ และ กรุงเทพฯ เจษฎา นับเป็นศิลปินร่วมสมัย ที่สนใจความสันพันธ์เชิงพื้นที่(geography) ระหว่างเนื้อหา ชิ้นงาน และพื้นที่โดยรอบ ที่เชื่อมโยงกันไว้อย่างหลวม ๆ ผ่านผู้ชมที่เป็นตัวแปรหลักในการทำให้เรื่องราวมีความสมบูรณ์และพิเศษตามแต่พื้นฐานของผู้ชม วิธีการทำงานที่เปรียบได้กับการสื่อสารระหว่างศิลปินและผู้ชม ผ่านผลงานที่เชื้อเชิญให้ผู้ชมได้ร่วมแบ่งปัน หรือหยิบยืมบางส่วนของประสบการณ์ของพวกเขานี้เองที่ช่วยให้เกิดการตีความต่อเนื้อหา และการนำเสนอผลงานของเจษฎา ให้มีรูปแบบที่แทบจะไม่ซ้ำกันเลย

Jedsada Tangtrakulwong was born in the year 1972 in Bangkok, Thailand. He graduated from the San Francisco Art Institute’s undergraduate program in 1999, before going on to acquire his Masters degree from the University College London’s The Slade School of Fine Art in 2006. He currently moves between and resides in both Bangkok and Chiang Mai. Jedsada is considered a contemporary artist whose interests lie in the geographical dynamics of a space, between the work itself and its surroundings. The two elements are connected by the audience themselves, who act as the missing variable that completes the narrative based on each of their individual backgrounds. The artist’s methods can be described as a way of communication between himself and his audience, with his works inviting visitors to share or borrow from each other’s experiences to produce an interpretation of the piece, with Jedsada himself never producing the same kind of work twice.   


ผลงานชุดนี้มีทั้งหมดสามชิ้น ติดตั้งในสามสถานที่ในตัวเมืองเชียงใหม่

  • ผลงานชิ้นแรก ติดตั้งที่บ้านต้นไม้ สวนสาธารณะสวนบวกหาด
  • ผลงานชิ้นที่สอง ติดตั้งที่ลานชมวิว วัดพระธาตุดอยคำ
  • ผลงานชิ้นที่สาม ติดตั้งที่ลานหน้าทางเข้าอุโมงค์ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) 

ข้อแนะนำในการชมผลงาน : 

ฝุ่นจากใต้เท้าของคนดูที่เหยียบย่ำลงบนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว จะทำให้ตัวหนังสือจากเพลทเหล็กฉลุที่อยู่ด้านใต้แผ่นกระดาษปรากฎขึ้น คนดูสามารถนำกระดาษที่ปรากฎข้อความจากฝุ่นติดตัวกลับไปได้ โดยดึงกระดาษที่ปรากฎตัวหนังสือแล้วออกจากเพลทเหล็ก และสอดกระดาษแผ่นใหม่ที่อยู่ในกล่องใส่กระดาษ ให้เข้ามุมของเพลททั้งสี่มุม  


ART FOR AIR Interview VDO


แนวความคิด / Concept


ในนิทรรศการครั้งนี้ เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ จัดแสดงชุดผลงานศิลปะจำเพาะพื้นที่ (site specific) ทั้งหมด 3 จุดทั่วเมืองเชียงใหม่ โดยให้วัสดุหลักเป็น เหล็ก กระดาษและฝุ่น เพื่อการพูดถึงปัญหาฝุ่นควัน ผลงานทั้งสามชิ้นจากชุดผลงานประกอบไปด้วย เหลือแต่ตอ / Only The Stump Is Left จัดแสดงอยู่ ณ บ้านต้นไม้ สวนสาธารณะหนองบวกหาด ปรากฏข้อความเมื่อถูพื้นรองเท้ากับเหล็กว่า “เราคงไม่ทำให้เกิดควัน หากเราเห็นความสำคัญของผู้อื่น” ผลงานชิ้นที่สอง ฟุ้ง คลุ้ง ตลบ / Diffuse โดยเจษฎาพัฒนาผลงานชิ้นนี้ร่วมกันกับนักศึกษาสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแสดงอยู่ ณ ลานชมวิว วัดพระธาตุดอยคำ ปรากฏข้อความเมื่อถูพื้นรองเท้ากับเหล็กว่า “ฝุ่นขนาดใหญ่เคลือบคลุมร่างกาย ฝุ่นขนาดเล็กกระจายทั่วปอด” และ ผลงานชิ้นที่สามในชุดผลงานนี้คือ ซึ่งกันและกัน / It Takes Two To Tango จัดแสดงอยู่ ณ ลานทางเข้าอุโมงค์ วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) ปรากฏข้อความเมื่อถูพื้นรองเท้ากับเหล็กว่า “โคเนื้อเพิ่มยอด เจ้าสัวเพิ่มพื้นที่ ฝุ่นควันเพิ่มวัน คลินิกเพิ่มคนไข้” ข้อความที่ปรากฏในแต่ละชิ้นผลงาน ต้องการให้ผู้ชมเข้าร่วมสร้างการผลิตซ้ำ โดยใช้ฝุ่นดินจากพื้นรองเท้ามาเป็นส่วนให้สีบนกระดาษขาว ขณะเดียวกัน การจัดวางชิ้นงานที่เสนอมุมมองให้ผู้ชมได้มองออกไปแม้ช่วงเวลาสั้นๆ ขณะกำลังถูรองเท้าเพื่อเผยให้เห็นข้อความที่อยู่ด้านล่างนั้นศิลปินออกแบบมาให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้การได้มองเมืองเชียงใหม่ทั้งจากจุดชมวิวของพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ศรัทธามีชื่อเสียง และ พื้นที่ที่เป็นทั้งพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ทั้งในแง่เมืองและศาสนาแห่งสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาที่ไม่ว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญเพียงใดฝุ่นควันเหล่านั้นก็แผ่ปกคลุมไปถึงโดยทั่วกัน

In this exhibition, Jedsada Tangtrakulwong presents a series of site-specific installations in three different areas across Chiang Mai, using metal, paper, and dust as the main materials for each to invite discussion on the current dust pollution crisis. The three pieces that make up this series include ‘Only The Stump Is Left’, which is currently displayed at the tree house in Nong Buak Haad Public Park, is a metal plate that reveals the message ‘you probably wouldn’t produce smog if we saw the importance of others’. The second piece, ‘Diffuse’, was created in collaboration with the Multidisciplinary Art department of Chiang Mai University’s Faculty of Fine Arts, and is displayed at Wat Phrathat Doi Kham’s viewing plaza, which displays the message ‘while the larger dust particles settle on our skin, the smaller ones are coating our lungs’. Lastly is the piece ‘It Takes Two To Tango’, shown at the entrance to Wat Umong (Putthatham Park), with the last message saying ‘Cows bring profit; the rich expand; the smog thickens; new patients flock to hospitals’. The messages shown at each site are meant to be reproduced by the audience, using the dust covering each piece to print the messages onto strips of white paper. Meanwhile, the placement of each piece was also designed to allow the audience a moment of reflection, forcing them to ‘look beyond the horizon’ as they use their feet to scrape the dust off. This is deliberately done by the artist, who wants the audience to acknowledge that be it a public space, a holy site of faith, or a historical site of significance, there is no place that escape’s the dust.


สวนสาธารณะหนองบวกหาด (บริเวณบ้านต้นไม้)

ชื่อผลงาน : เหลือแต่ตอ (Only The Stump Is Left)
สถานที่ : “สวนสาธารณะหนองบวกหาด”


แนวความคิด / Concept


เมื่อต้นปี เพื่อนบ้านตัดกิ่งไม้ของต้นไม้ทุกต้น ที่ยื่นโผล่พ้นไปที่รั้วบ้านของเธอ ต้นไม้ต่างจากกำแพง งอกงามเปลี่ยนแปลงรูปทรงไปเรื่อยๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มองย้อนกลับไปในอดีต ถึงเหตุการณ์ต่างๆที่ต้นไม้ถูกกำหนดชะตาชีวิตโดยคน ไม่ได้ตายตามอายุขัย 


วัดพระธาตุดอยคำ(อยู่บริเวณลานชมวิว)

ชื่อผลงาน : ฟุ้ง คลุ้ง ตลบ (Diffuse)
สถานที่ : ลานชมวิว วัดพระธาตุดอยคำ

แนแนวความคิด / Concept


ด้วยความอยากรู้ว่าภาพฝุ่นในใจของคนที่อยู่ในเชียงใหม่เป็นยังไง จึงได้ชวนนักศึกษาชั้นปีที่สองและชั้นปีที่สี่ของสาขาสหศาสตร์ศิลป์ มาช่วยกันสร้างจินตนาการฝุ่นหลายๆชนิดผ่านตัวหนังสือ อาจจะด้วยการที่แต่ละคนอาศัยอยู่คนละพื้นที่ บางคนเพิ่งจะมาอยู่ที่เชียงใหม่ไม่นาน บางคนอยู่มาตลอดชีวิต ประสบการณ์การประสบพบเจอฝุ่นไม่เหมือนกัน แหล่งที่มาของฝุ่นจึงต่างกัน


วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม (บริเวณหน้าอุโมงค์)

ชื่อผลงาน :  ซึ่งกันและกัน (It Takes Two To Tango)
แผนที่ “วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม”

แนวความคิด / Concept


จากการบอกเล่าของศิลปินหญิงรุ่นใหม่ที่ไปเก็บข้อมูลที่อำเภอแม่แจ่ม เกี่ยวกับการปลูกและกำจัดซากพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งทางคนปลูกก็ถามเธอกลับมาว่า ถ้าไม่ปลูกข้าวโพดจะให้ปลูกอะไร ในเมื่อปลูกข้าวโพดยังไงก็ขายได้ ในขณะที่ศิลปินชายรุ่นใหม่ที่ศึกษาเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เล่าให้ฟังถึง บริษัทยักษ์ใหญ่บริษัทหนึ่งยังคงทำการสำรวจและค้นหาพื้นที่ใหม่ๆเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจนี้ เมื่อลองมองดูธุรกิจในเมือง ร้านค้าเชิงเดี่ยวแพร่ขยายคลอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ในเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่หมู่คนทุกกลุ่มวัย ไม่ต้องเดินทางไกลเวลาซื้อของเบ็ดเตล็ด 


สนับสนุนโดย