นิทรรศการกลุ่ม “Panic World” จัดแสดงโดย DC Collection(Panic Room)

Panic Room 

10 MAR – 30 APR 2023

 

ชื่องาน : Panic World
ระยะเวลาจัดแสดง : 10 มีนาคม – 30 เมษายน 2566
สถานที่ : DC Collection (Panic Room)
104 Manee Nopparat Rd, Tambon Si Phum,
Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai 50200
Opening hours :
Wednesday – Sunday : 13.00 – 18.00
Monday – Tuesday :  Closed

รายชื่อศิลปิน  

1. เกศ ชวนะลิขิกร (Kade Javanalikhikara)

2. คามิน เลิศชัยประเสิรฐ (Kamin Lertchaiprasert)

3. ต่อลาภ ลาภเจริญสุข (Torlarp Larpjaroensook)

4. ไทวิจิต พึงเกษมสมบูรณ์ (Thaiwijit Puengkasemsomboon)

5. ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (Tawatchai Puntusawasdi)

6. ประกิต กอบกิจวัฒนา (Prakit Kobkijwattana)

7. ปพนศักดิ์ ละออ (Paphonsak La-or)

8. สุรเจต ทองเจือ (Srajate Tongchua)

9. อานนท์ นงค์เยาว์ (Arnont Nongyao)

10. อังกฤษ อัฉริยโสภณ (Angkrit Ajchariyasophon)

11. อุบัติสัตย์ (Ubatsat)

12. DDMY STUDIO

โลกแห่งความอลหม่าน

ก่อนอื่นผมขออนุญาตเป็นตัวแทนกลุ่มศิลปิน Art for Air เพื่อจะสื่อสารความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมโลก อากาศเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต แต่กลับไม่ได้รับความใส่ใจมากพอ จากผู้มีอำนาจรัฐรวมถึงเราทุกคนในสังคม เพียงเพราะมันไม่มีมูลค่า แต่กลับต้องใช้จ่ายมากมายในการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสภาวะโลกร้อนรวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งภัยพิบัติิทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวข้องเหล่านี้ เราสามารถหาอ่านได้ทั่วไปมากมายจนเราเคยชินหรือได้ยินจนเย็นชา จนทำให้เราเมินเฉยต่อปัญหาเพราะไม่รู้จะเริ่มต้นแก้ไขอย่างไรดี เพราะเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีเหตุและผลกระทบเป็นห่วงโซ่

ต้นเหตุแห่งปัญหาที่สำคัญก็คือการที่ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเกิน จนต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย และสิ่งของอุปโภคบริโภค จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ถ่านหิน น้ำมัน แร่ธาตุต่าง ฯลฯ จำนวนมาก จนทำให้ธรรมชาติเกิดสภาวะเสียสมดุลย์ทางระบบนิเวศ เพราะธรรมชาติไม่สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ทัน ต่อความต้องการของมนุษย์ สาเหตุหลักข้อที่สอง คือ มนุษย์ไม่มองปัญหา เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาแบบองค์รวม การแก้ไขปัญหาแบบแยกส่วน ที่ผ่านมาวิธีการแก้ไขส่วนใหญ่ ตั้งอยู่บนความคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนหรือประเทศตน ตั้งอยู่บนฐานความคิดเพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านเศษฐกิจของตนเป็นหลัก จนหลงลืมหัวใจหลักการของเศษฐศาสตร์ว่าคือ การแบ่งปันทรัพยากรที่มีจำกัดในธรรมชาติอย่างยุติธรรม การแก้ไขปัญหาโดยขาดทัศนคติว่า โลกคือบ้านของเรา และ เราคือโลก เปรียบเหมือนการทำความสะอาดบ้านตนแต่เอาขยะไปทิ้งบ้านคนอื่น ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติว่าเราทุกคนคือประชากรโลก ไม่มีการแบ่งแยกประเทศและเชื้อชาติ เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางอากาศไม่มีพรมแดน ฟังดูเหมือนโลกอุดมคติเกินไป แต่ในความเป็นจริง แล้วมันอาจเป็นทางออกเดียวที่เราเหลืออยู่ก่อนที่มนุษย์จะสูญพันธุ์

ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนของประเทศไทย คือ

  1. การกำหนดกฎหมาย พรบ. อากาศสะอาด ที่ประชาชนมีส่วนรวมในการออกแบบข้อกฎหมายโดยตรง โดยเน้น “ความรู้ที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ” เพื่อประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันที่อยู่เหนือประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม รวมถึงการออกแบบการป้องกันและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกรณีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน
  2. การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของภาครัฐ ในการปรับปรุงวิธีการกำกับดูแลการใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ กับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในบริบทของสังคมปัจจุบัน ที่มีความสลับสับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการกระจายอำนายสู่ท้องถิ่น โดยให้ผู้มีผลกระทบมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยตรง
  3. พลังภาคประชาชน ในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้อุปโภคและการบริโภค ให้เลือกใช้หรือสนับสนุนองค์กรธุรกิจหรือสินค้า (Eco Products) ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยตรง รวมถึงการปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตประจำวัน ในการใช้สิ่งของอย่างมีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยการ ลด ละ เลิก นำกลับมา ใช้ใหม่ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  4. โลกคือบ้านของเรา เราคือโลก การสื่อสารข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องรอบด้านรวมถึงจินตนาการในการเสนอทางออกอย่างสร้างสรรค์ จะเป็นการสร้างทัศนคติร่วมของสังคมเพื่อการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมให้กลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยกระแสหลัก ในการเปลี่ยนพฤติกรรมของสังคม เป็นทางเลือกและแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในส่วนนี้ ภาคศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยจึงมีบทบาทที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนสำนึกทางสังคม ด้วยความเชื่อนี้ Art for Air จึงถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจกัน ของกลุ่มศิลปินและองค์กรด้านศิลปะต่าง ๆ ที่ได้เห็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศและต้องการมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไข ด้วยการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้

อานนท์ นงเยาว์ A Weirdo The Last Music Box
อานนท์ ได้รวบรวมวัตถุเหลือใช้ มาประกอบเป็นโลกเสมือน ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาแปลก ๆ คล้ายคนหรือหุ่นยนต์ บางแง่มุมก็ดูเหมือนต้นไม้ กำลังส่งคลื่นเสียงดังออกมาคล้ายเสียงรบกวน (noise) เมื่อเราฟังจะรู้สึกรบกวน เพราะเราฟังไม่รู้เรื่องมันไม่ใช่ภาษาที่เราคุ้นเคย แต่อาจจะไม่ใช่สำหรับแมลงหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รวมทั้งอานนท์ยังนำเอาคลื่นเสียงรบกวน (noise) ที่เกิดจากข้อผิดพลาด บกพร่องทางระบบการสื่อสารของภาคอุตสาหกรรมภาพยนต์ มาประกอบร่วมกับเสียงของแมลงต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวในธรรมชาติยามค่ำคืน โลกปัจจุบันการพัฒนาการทางวัตถุเทคโนโลยีอย่างก้าวไกล จนมนุษย์ออกห่างหรือหลงลืมธรรมชาติที่มีอยู่ภายในตน การมุ่งพัฒนาการแต่ทางวัตถุ เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์เป็นศูนย์กลางจนเราละเลย ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ระบบนิเวศป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ อากาศและสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ถูกทำลายเพื่อตอบสนองการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยอย่างขาดสติ และเบียดเบียนธรรมชาติจนเสียสมดุลย์ โลกเสมือนของอานนท์ กำลังส่งเสียงเตือนเราให้ตระหนักรู้ถึงถ้อยคำของสรรพสิ่งที่มนุษย์ละเลยที่จะฟังอย่างตั้งใจ ก่อนที่มนุษย์จะสูญพันธุ์


ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ Air for Art (plant at work)
ไทวิจิต พยายามส่งสารถึงการสูญเสียอิสระภาพ ที่ถูกจำกัดบริเวณที่เกิดจากผลกระทบจากมลพิษทาง อากาศผ่านภาพวาด และสร้างความตระหนักรู้ในความงามและความรักที่มีต่อธรรมชาติ จากสิ่งของ วัตถุเหลือใช้ รอบตัวในชีวิตประจำวัน กลายมาเป็นประติมากรรมที่รองรับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่คนในสังคมเมืองส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ไทวิจิตกำลังปลูกต้นไม้ที่ซ่อนอยู่ภายในตนและในใจเราทุกคนให้ งอกงาม


เกศ ชวนะลิขิกร โลกสีน้ำตาลกับเจ้ารถสกปรก
เกศ สะท้อนแนวความคิดถึงการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติ และตั้งคำถามถึงความสามารถในการ ปรับตัวของคนและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ว่าจะสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมที่เป็นพิษที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์เองได้อย่างไร ?


DDMY STUDIO The Sound from Distance
เด๋อ นำพาให้เรากลับไปหาความทรงจำในวัยเด็ก เสียงร้องของแมลงตัวเล็ก ๆ ตามทุ่งหญ้าที่กำลังสูญหายไปในเมืองใหญ่ ถูกแทนที่ด้วยสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี่สมัยใหม่ ส่งเสียงเพลงของมนุษย์ แต่เมื่อเราเข้าไปใกล้มัน เสียงเพลงจะหยุดลง เพื่อย้ำเตือนถึงพื้นส่วนตัว ระยะห่างที่เราควรมีให้กันและกัน หรือระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ การให้ระยะห่างไม่เข้าไปรบกวน เป็นการแสดงความเคารพการอยู่ ร่วมกันในธรรมชาติอย่างสันติ


ประกิต กอบกิจวัฒนา We can’t breathe.
ประกิต ตั้งคำถามอย่างแยบคายถึงระบบโครงสร้างทางวัฒนธรรมไทย ที่มีความเลื่อมล้ำอย่างสูงทาง สังคม ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาในด้านต่างๆ ว่าเราจะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติและร่ำรวย ด้วยวัฒนธรรมอันงดงามให้เดินเคียงคู่กันไปกับโลกข้างหน้าได้อย่างไร ? นี่คือความท้าทายของพวก เราทุกคน


อุบัติสัตย์ Home stay
แก้ว พาเราย้อนอดีตไป ๓๐๐ ปีก่อน ผ่านการดูเส้นทางการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก ของสีและแสง สเปกตรัมที่ปรากฎผ่านฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่การพัฒนาของผู้คนในอดีตที่ลืมคิดถึงผลกระทบต่อผู้ คนในปัจจุบัน ผ่านภาพวาดที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา แต่เป็นภาพสะท้อนและตั้งคำถามถึงผู้คนใน ปัจจุบัน ว่าเราส่งมอบอะไรต่อให้กับลูกหลานเราในอนาคต


ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ ไม่เห็นชัด
ธวัชชัย สื่อสารถึงการรับรู้ที่ พร่ามัว เลือนลาง ไม่ชัดเจนกับความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นจากมลพิษทาง อากาศ pm2.5 ทำให้ระบบการเห็นการรับรู้หรือความเข้าใจความจริงผิดปกติ สิ่งนี้เกิดขึ้นซ้ำซากจน กลายเป็นความเคยชินหรือสิ่งปกติที่ไม่ปกติ


อังกฤษ อัจฉริยโสภณ Gray planet
อังกฤษ ถ่ายภาพท้องฟ้าที่เคยมีสีฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง โล่งสบาย กลับกลายมาเป็นท้องฟ้าสีเทา ทุกหนแห่งของการเดินทางกว่าสิบปี อังกฤษได้บันทึกเรื่องราวอารมณ์ความรู้นึกคิดผ่านพื้นที่ว่าง ภาพติดผนังขยายใหญ่ ขนาด ๑๖ เมตร รุ้งกินน้ำเส้นโค้งสีขาวมัว ๆ รุ้งที่ในอดีตเคยเป็นสัญลักษณ์ของความสุข ความสดใสหลังจากความทุกข์ผ่านเลยไป ดังคำพูดที่ว่าฟ้าหลังฝน มักจะมีรุ้งปรากฎขึ้น แต่รุ้งในภาพนี้ กับถูกบดบังด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็กจนเกือบมองไม่เห็น แถมยังถูกยืดขยาย บิดเบือนมาตราส่วนเพื่อ ให้เข้ากับความยาวของผนัง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งเจตนาและไม่มีเจตนาที่จะทำลาย หรือสร้างสรรค์ ในโลกสีเทาแห่งมายาคติ


ต่อลาภ ลาภเจริญสุข Drowning under the equator
ต่อลาภ นำเสนอปัญหาที่เกิดจากการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในโลกทุนนิยม การเคลื่อนย้ายการผลิตของ โลกอุตสาหกรรมมาสู่ประเทศในเขตร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร ได้สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย จะเห็นได้จากแผนที่เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เต็มไปด้วยจุดความร้อน บ่งชี้ถึงกระบวนการผลิต ภาคอุตสาหกรรมทางการเกษตร ที่ผลิตมลพิษทางอากาศอย่างมหาศาลในเวลาเดียวกัน


สุรเจต ทองเจือ Visiting neighbors in the summer
สุรเจต นำเสนอปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ในผลงานกลับแสดงออกมาได้อย่างงดงามดูเรียบง่ายแต่แอบซ่อนเรื่องราวปัญหาที่อยู่เบื้องหลังต่าง ๆ ไว้มากมาย ผ้าม่านภาพทิวทัศน์ภูเขาดูเหมือนภาพธรรมดา ธรรมชาติที่เราเห็นทั่วไป แต่เมื่อเราสังเกตดูอย่างตั้งใจเราจะพบว่าเป็นมันกลับหัว ท้องฟ้าที่เห็นกลับเป็นภูเขาที่หัวโล้น ส่วนด้านล่างที่เห็นตอนแรกเราคิดว่าเป็นภูเขากลับกลายเป็นภาพกลุ่มฝุ่นควัน สื่อถึง ปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากภาคการผลิตอุตสาหกรรมทางการเกษตรของประเทศเพื่อนบ้าน ที่ส่งผลกระทบต่อเราโดยตรง การขาดความรับผิดชอบของกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสภาพ แวดล้อม ที่เกิดจากความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนในเชิงธุรกิจของระบบทุนนิยมสามานย์


ปพนศักดิ์ ละออ I promise to pay the bearer on demand.
ปพนศักดิ์ กำลังส่งสัญญาเตือนให้เราตระหนักถึงการล่มสลายของระบบทุนนิยมสามานย์ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้น จากผลกระทบทางเศษฐกิจที่ขาดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำสัญลักษณ์ภาพสัตว์ที่มีอยู่บนธนบัตรของประเทศต่าง ๆ เช่น Zimbabwe, Venezuela, Sri Lanka มาแสดงออกในผลงานจิตรกรรม ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ปัจจุบันสกุลเงินของประเทศ Zimbabwe นี้ ไม่มีมูลค่าในการแลกเปลี่ยนแล้ว


คามิน เลิศชัยประเสริฐ Turning Point
คามิน เชียงใหม่ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ผมได้ไปกินอาหารกลางวันที่ร้าน Aeeen และมีโอกาส เข้าไปในห้องน้ำ ได้พบเห็นข้อความบนผนังปูนเขียนด้วยช็อกสีขาวว่าOnly when the last tree has died & the last river has been poisoned & the last fish has been caught will we realize that we cannot eat money. ผมกลับเข้ามาในร้านพบคุณ Yuki เจ้าของร้าน เลยถามว่าคุณเป็นคนเขียน ข้อความนี้หรือเปล่า เขาตอบว่าใช่แต่เขาลอกมาจากคำพูดของชาวอินเดียแดง (Native American) ผมเลยหัวเราะชอบใจและตอบเขาไปว่า ผมขออนุญาตนำข้อความนี้มาแสดงที่นิทรรศการ Art for Air เพื่อส่งมอบถ้อยคำอันมีคุณค่านี้ต่อมวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้


๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

PANIC WORLD

“I would like to speak on behalf of the Art for Air artist group in order to raise awareness about environmental issues, specifically those regarding air pollution. This is an urgent problem that requires cooperation from all sectors of our global society, as air is essential to life but its quality is often neglected by those in positions of power. As a culture, we tend to undervalue the importance of clean air. Instead, we tend to focus on spending money to fix environmental issues related to global warming, including small particulate matter (PM2.5) that directly and indirectly affect health, including well as natural disasters like floods, earthquakes, and extreme weather changes, etc. Information regarding environmental degradation is readily available. In fact, there’s so much information that we can become desensitized to these issues and ultimately ignore the problem since we have no idea where to start. The situation is incredibly complex, particularly due to its interlinking causes and effects.


The origin of the problem is that the world’s population has grown in excess of what it can sustain. As a result, there’s an increasing demand for food, space and materials, which require the consumption of natural resources, such as coal, oil, minerals, etc. Nature is now in a state of ecological imbalance since its resources cannot be replaced in time to meet human need. It is also an issue that humans do not see the environmental problem holistically. Instead, we rely on isolated problem solving, which is based on the idea of preserving one’s own wellbeing, when we should begin a practice of sharing nature’s limited resources more justly. Solving problems without recognizing that the world is our home and that we are the world is like cleaning one’s house but dumping the garbage at a neighbor’s door. It’s time for humanity to adopt the attitude that we are all citizens of the world. These issues affect us all, regardless of nationality or ethnicity, because environmental problems and air pollution have no borders. Perhaps this sounds idealistic, but in reality, it might be the only solution we have left when facing extinction.

To address the existing air pollution problems in Thailand, the following sustainable solutions are recommended:

  1. Formulate a Clean Air Act in which direct public participation is involved. The legislation should emphasize fostering “knowledge to live together in peace” for the benefit of all. It should also include provisions for protecting the environment and promoting international cooperation to deal with the origins of cross-border pollution.
  2. Solve structural problems in the public sector and improve the supervision of existing laws to ensure they are fully effective in addressing problems that arise in a more complex societal context. This should include distributing power to local communities and enabling affected individuals to participate directly in problem-solving efforts.
  3. Empower individuals to drive change by supporting businesses and organizations that promote environmental conservation through the use of eco-friendly products (Eco Products) and practices. Encourage modifications to daily life that prioritize environmentally conscious choices, such as reducing, reusing, and recycling, whenever possible.
  4. “The world is our home; we are the world.” Accurate insights and imaginative solutions can promote societal awareness. Concrete knowledge that becomes mainstream contemporary culture can provide alternatives that lead to behavioral changes. The arts and culture sector can play a vital role in driving this change. With this belief, Art for Air was born out of a collaboration of artists and art organizations who have been witness to environmental problems, especially air pollution, and who want to participate in the correction of these issues by driving this project.

Arnont Nongyao A Weirdo The Last Music Box
Arnont has collected discarded objects and formed them into a virtual world. This world has a strange appearance, its inhabitants resembling both people and robots and also having aspects reminiscent of trees. It emits loud sound waves that may disturb us (noise) since we are unfamiliar with the world’s language. However, this may not be a problem for insects or other living things. Arnont also addresses the sound waves caused by errors and failures in film industry communication systems by combining them with the sounds of various insects that can be heard in nature at night. Today, material technology has advanced significantly, causing humans to distance themselves from nature and even forget its existence. The focus is on developing objects for humans, while neglecting all other environmental relationships. The destruction of ecosystems and other natural elements, such as forests, mountains, rivers, air, and other species, is a direct result of unconscious extravagant consumption and the disruption of nature, which causes it to lose balance. Arnont’s virtual world serves as a reminder of the messages that humans must hear before it’s too late and we face extinction.


Thaiwijit Puengkasemsomboon Air for Art (plant at work)
Thaiwijit’s artwork aims to communicate the loss of freedom caused by air pollution. Through his paintings, he attempts to raise people’s awareness by showcasing the beauty of nature. He also creates sculptures out of everyday leftover objects, which support small creatures often overlooked in society. He is symbolically planting a tree within himself and within our hearts, hoping it will grow.


Kade Javanalikhikara The brown earth and the dirty car
Kade’s work embodies the coexisting of humans and nature. The artist also prompts us to question the ability of humans and other living beings to survive in changing conditions and the toxic environment we have created.


DDMY STUDIO The Sound from Distance
Der’s art transports us back to childhood memories of the sound of small insects in the meadow, which is now lost in the noise of modern city life and replaced by human-made sound and music. As we approach the work, the music stops, reminding us of the need for personal space and distance between humans and other living beings as a sign of respect and peaceful coexistence in nature.


Prakit Kobkijwattana We can’t breathe.
Prakit astutely questions the Thai cultural hierarchy and distribution of power, which is the root of many social and environmental problems in the country. To restore nature’s abundance and attain a more equitable wealth distribution, we must establish a culture that walks hand in hand with the world of the future. How can we achieve this? This is a challenge for us all.


Ubatsat Home stay
Ubatsat’s artwork takes us back 300 years, showing the path of global temperature change in the colors and light spectrum that appear through small dust particles. The work reflects on human civilization’s development in the past, which failed to consider the impact it would have on people today. Through simple and straightforward drawings, Ubatsat questions what we will pass on to our children in the future.


Tawatchai Puntusawasdi Blurred
Tawatchai’s work communicates the distorted perceptions caused by PM2.5 pollution, which blurs the lines between factual and perceived reality. This repeated exposure can lead to abnormal perceptions, which become habitual and accepted as the norm, even when they are not.


Angkrit Ajchariyasophon Gray planet
Angkrit captures the transformation of clear blue skies into a gray and polluted world through his decade-long photography journey. His emotions and thoughts are recorded in an empty space, a 16-meter wall-mounted picture portraying a blurry white curved rainbow, symbolizing happiness in the past. The rainbow is usually a sign of hope and light after suffering has passed, but in this picture, it is obscured by nearly invisible dust particles, stretched and distorted to fit the length of the wall. Whether our actions have been intentional or unintentional, humanity must come to acknowledge our responsibility in the creation of this gray world.


Torlarp Larpjaroensook Drowning under the equator
Torlarp presents the problems caused by increasing consumption in a capitalist system. Relocating the production of the industrialized world to the tropical countries of the equator has spurred a rise in environmental pollution, which can be seen from the map of Southeast Asia. Additionally, hot spots of agricultural activity are visually linked to massive emissions of air pollutants.


Surajate Tongchua Visiting neighbors in the summer
Surajate presents a problem in a straightforward manner through this simple work, belying a multitude of stories behind the issue. The mountain scenery appears beautiful and ordinary, like a picture of nature that we would see in everyday life. However, upon closer inspection, we notice that the picture is upside down. The sky is actually a bald mountain, while the mountain turns out to be a cloud of dust, highlighting the air pollution problems caused by the neighboring agricultural industry that directly affect Northern Thailand. The work also calls attention to the irresponsibility of production processes that negatively impact the environment due to nefarious capitalist business practices.


Paphonsak La-or I promise to pay the bearer on demand.
Paphonsak sends us a warning about the collapse of the current predatory capitalist system and its impact on natural ecosystems. Through his paintings, he highlights the economic consequences of environmental destruction and the lack of awareness surrounding conservation efforts. He uses animal symbols found on banknotes from countries such as Zimbabwe, Venezuela, and Sri Lanka to express this message. Notably, Zimbabwe’s currency is currently worthless in exchange.


Kamin Lertchaiprasert Turning Point
Kamin: On February 10, 2023, while having lunch at Aeeen restaurant in Chiang Mai, I came across a message on the plaster wall of the bathroom, written in white chalk. It read: “Only when the last tree has died & the last river has been poisoned & the last fish has been caught will we realize that we cannot eat money.” I later met Mr. Yuki, the owner of the restaurant, and asked if he had written the message. He revealed that he had copied it from a Native American quote. I laughed and asked for permission to display this message at the Art for Air exhibition, as I believed it carried great value for humanity.


23 February 2023


SUPPORT / สนับสนุน


#ARTFORAIRCNX #ARTFORAIR2